เมนู

ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) ของบุคคลผู้ยินดีเพลิดเพลินปรารภบัญญัติ
ผู้ยึดถือว่าเป็นสัตว์เป็นอัตตา. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ก็นัยนี้
เหมือนกัน. ในที่นี้ การยึดถือด้วยจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตไม่มีเพียง
อย่างเดียวเท่านั้น.
จิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต 2 ดวง ย่อมเป็นธรรมมีอดีตเป็นต้น
เป็นอารมณ์แก่บุคคลผู้โทมนัสปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตขันธ์เป็นต้น, เป็น
ธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าวแก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสปรารภบัญญัติเป็นอารมณ์.
จิตตปบาทที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ในขณะเป็นไปในธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้นโดยความเป็นธรรมที่ตกลงใจไม่ได้ และความฟุ้งซ่าน ก็เป็นธรรมมี
อารมณ์เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.
ว่าโดยกิรยา สเหตุกจิตตุปบาท 8 มีคติอย่างกุศลจิตตุปบาทนั่นแหละ.
กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา ในขณะเป็นไปด้วยอำนาจ
ทำโวฏฐัพพนกิจในปัญจทวาร เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันเท่านั้น. ใน
เวลาที่เป็นปุเรจาริกของชวนจิตที่มีธรรมเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันเป็นอารมณ์
และมีบัญญัติเป็นอารมณ์ในมโนทวาร จิตเหล่านี้ ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็น
อดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.

ว่าด้วยจิตตุปบาทเป็นรูปาวจรจตุตถฌาน


ในจตุตถฌานที่เป็นรูปาวจรมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว จตุตถฌาน 5
เหล่านี้ คือ จตุตถฌานที่เป็นบาทแห่งธรรมทั้งปวง 1 จตุตถฌานที่เป็นไป
ในอากาสกสิณ 1 จตุตถฌานที่เป็นไปในอาโลกกสิณ 1 จตุตถฌานที่เป็นไป
ในพรหมวิหาร 1 จตุตถฌานที่เป็นไปในอานาปานสมาธิ 1 เป็นนวัตตัพพา-
รัมมณะ (คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) ทั้งนั้น.

จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ เป็นธรรมมีอดีตเป็นอารมณ์ เพราะ
ความที่โยคาวจรบุคคลผู้ยังจิตให้เปลี่ยนไปตามอำนาจแห่งกายปรารภฌานจิตใน
อดีตเป็นบาทให้เป็นไป. แต่เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตแก่โยคาวจร
บุคคลผู้อธิฐานธรรมอันเป็นอนาคต เหมือนพระมหากัสสปเถระเป็นต้น
อธิษฐานในคราวบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็มีอารมณ์เป็นอนาคต.
ได้ยินว่า พระมหากัสสปเถระ เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้
อธิษฐานว่า ในอนาคตกาลตลอด 218 ปี ขอกลิ่นหอม เหล่านี้ อย่า
พินาศไป ดอกไม้ทั้งหลายอย่าเหี่ยวแห้ง ประทีปทั้งหลายอย่าดับ

ดังนี้ สิ่งทั้งหมดได้เป็นเหมือนอธิษฐานนั่นแหละ. พระอัสสคุตตเถระ เห็น
หมู่ภิกษุที่ฉันภัตตาหารแห้งที่เสนาสนะโรงภัต จึงอธิษฐานว่า ขอให้แอ่งน้ำจง
เป็นรสนมส้มในเวลาปุเรภัตทุกวัน ดังนี้ น้ำที่ตักมาในเวลาปุเรภัตจึงมีรสเป็น
นมส้ม ในเวลาปัจฉาภัต น้ำนั้นก็เป็นปรกติอย่างเดิมนั่นแหละ. แต่ในเวลาที่
พระโยคีบุคคลทำกายให้อาศัยจิต (คือให้เป็นไปเร็วเหมือนจิต) แล้วไปด้วย
กายที่มองไม่เห็นหรือว่าในเวลากระทำปาฏิหาริย์อื่น จตุตถฌานนั้นก็เป็นธรรม
มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะปรารภกายเป็นไป.
จตุตถฌานที่เป็นทิพโสต เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะ
ปรารภเสียงที่มีอยู่นั่นแหละเป็นไป. จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ
ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต และเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต แก่บุคคล
ผู้รู้จิตของบุคคลเหล่าอื่นในอดีตภายใน 7 วัน และในอนาคตภายใน 7 วัน.
แต่ในเวลาเกิน 7 วันแล้วก็ไม่อาจเพื่อจะรู้จิตนั้นได้ เพราะว่า นั่นเป็นวิสัย
ของอตีตังสญาณและอนาคตังสญาณ. แต่ในเวลาที่รู้จิตปัจจุบันของคนอื่นนี้ ก็
เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.

ว่าด้วยปัจจุบันกาล 3 อย่าง


ชื่อว่า ปัจจุบัน นี้ มี 3 อย่าง คือ
ขณปัจจุบัน
สันตติปัจจุบัน
อัทธาปัจจุบัน.
บรรดาปัจจุบัน 3 เหล่านั้น ปัจจุบันที่ถึงอุปปาทขณะ ฐีติขณะ และ
ภังคขณะ ชื่อว่า ขณปัจจุบัน. ปัจจุบันเนื่องด้วยวาระเป็นไปติดต่อกันสิ้น
วาระหนึ่งหรือสองวาระ ชื่อว่า สันตติปัจจุบัน.
ในข้อสันติปัจจุบันนั้น เมื่อบุคคลนั่งในที่มืดแล้ว ออกมาสู่ที่สว่าง
อารมณ์ยังไม่แจ่มแจ้งทันที อารมณ์นั้นจะปรากฏชัดเจนตราบใด ภายในระหว่างนี้
พึงทราบวาระที่สืบต่อกันสิ้นหนึ่งหรือสองวาระ เมื่อบุคคลเที่ยวไปในที่แจ้งแล้ว
เข้าไปห้องน้อย (ห้องมืด) แล้วรูปารมณ์ก็ยังไม่ปรากฏทันทีก่อน รูปารมณ์นั้น
ยังไม่ปรากฏตราบใด ภายในระหว่างนี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อสิ้นหนึ่งวาระ
หรือสองวาระ ก็เมื่อบุคคลยืนอยู่ในที่ไกล แม้เห็นการไหวมือของพวก
ช่างย้อมและการไหวมือเคาะระฆังตีกลองก็ยังไม่ได้ยินเสียงทันที และยังไม่ได้ยิน
เสียงตราบใด ในระหว่างแม้นี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อหนึ่งหรือสองวาระ.
ท่านมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ก่อน.
ส่วนท่านสังยุตตภาณกาจารย์กล่าวถึง สันตติมี 2 อย่าง คือรูปสันตติ
และอรูปสันตติ แล้วกล่าวว่า ระลอกน้ำที่บุคคลเดินข้ามน้ำลุยไปยังฝั่ง ยังไม่ใส
สนิทตราบใด เมื่อบุคคลมาจากทางไกล ความร้อนในกายยังไม่สงบไปตราบใด
นี้ชื่อว่า รูปสันตติ (ความสืบต่อแห่งรูป) เมื่อบุคคลมาจากแดดเข้าไปสู่ห้อง
ความมืดยังไม่ไปปราศตราบใด เมื่อบุคคลมนสิการกรรมฐานภายในห้อง เปิด